‘น้องฟ้า’ เด็กดอยเชื้อสายจีน สู้ชีวิตลำบากมาตั้งแต่ลืมตาดูโลก
วันนี้มารู้จักกับสาวดอยเชื้อสายจีนที่คุณภาพชีวิตของตัวเองและครอบครัวที่ยากลำบากมาตั้งแต่ลืมตาดูโลก สำหรับ “เสี่ยวฟาง แซ่หยั่ง” หรือ “น้องฝน” จากอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ก่อนจะพัดพาตัวเองเข้ามาเติบโตในกรุงเทพฯ กว่าจะมีวันนี้ วันที่ “เสี่ยวฟาง” กลายเป็นเสาหลักของคุณพ่อ คุณแม่และน้องๆ รวม 6 คน เธอต้องทุ่มเท และใช้ความพยายามอย่างแรงกล้า
ชื่อของ “เสี่ยวฟาง” เป็นภาษาจีนมีความหมายว่า “แสงสว่างอันราบรื่น” แต่ถ้าย้อนกลับไปก่อนที่เสี่ยวฟางจะมีวันนี้ครอบครัวของเธอยากลำบาก ขาดโอกาสทางการศึกษา
จนทำให้เธอคิดว่าตัวเองไม่อยากมีชีวิตและทำงานหนักแบบคุณพ่อ คุณแม่ ที่ต้องรับจ้างทำไร่ข้าวโพด มีรายได้แค่วันละ 80 บ. “บ้านยากจน เราเป็น ลู ก สาวคนโตของบ้าน ตอนเด็กๆ
ต้องช่วยพ่อแม่ทำไร่บนดอย เพราะเป็นอาชีพเดียวที่สร้างรายได้ให้ที่บ้าน เวลาฝนตก อากาศหนาว พ่อแม่ก็ไม่เคยหยุด ค่าแรงของแม่วันละ 80 บ. ยังต้องแบ่งเป็นค่าเทอม ค่าขนมให้ ลู ก
ฝนเลยไม่อยากให้ชีวิตตัวเองลำบากแบบนั้น และคิดว่าถ้าทำได้ก็ไม่อยากให้พ่อแม่ต้องทำงานหนักอีก” หลัง “เสี่ยวฟาง” เรียนจบระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนในพื้นที่จึงคิดเรียนต่อระดับปริญญาตรี
แต่เพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือแม้แต่สถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่เองก็ไม่มีพื้นที่สำหรับเธอ “เสี่ยวฟาง” จึงต้องสร้างโอกาสให้ตัวเองด้วยการตัดสินใจเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ
แบบมีทุนการศึกษาสนับสนุนโดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ และเธอเป็นเด็กจากหมู่บ้านเพียงคนเดียวที่คิดและตัดสินใจเช่นนี้ “ฝนพยายามทุกวิถีทางไม่ว่าเหนื่อยแค่ไหนต้องเรียนจบมัธยมให้ได้ก่อนจะไปเรียนต่อ
เพื่อนๆ รุ่นเดียวกันพอเรียนจบก็ไปทำงานเป็น ลู ก จ้างในโรงแรมบ้าง เป็นเซลล์ที่กรุงเทพฯ บ้าง เพราะเขามีพี่น้องอยู่ที่นั่น แต่ฝนเลือกเรียนต่อเพราะเชื่อว่าถ้าเราเรียนสูง ชีวิตเราจะดีขึ้น”
“เสี่ยวฟาง” จึงเข้ามาเรียนที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เพราะทางสถาบันให้เรียนฟรีสนับสนุนทุกอย่าง ระหว่างเรียนเธอยังทำงานควบคู่ไปด้วย แม้ช่วงแรกต้องมีการปรับตัวอย่างหนัก
แต่เพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ “เสี่ยวฟาง” จึงไม่เคยย่อท้อ แม้จะไม่ได้ใช้ชีวิตเหมือนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ ก็ตาม “ตอนแรกปรับตัวเยอะมาก ต้องเช่าห้องพักในกรุงเทพฯ เวลาไปเรียนหรือไปทำงานนั่งรถเมล์ไป
ต้องพกมะม่วงเปรี้ยว ลู ก เล็กๆ ติดตัวไปด้วยเพราะเมารถ ส่วนเรื่องเรียนก็ต้องปรับเพราะที่นี่เราเรียนรู้ด้วยตัวเอง ไม่เหมือนตอนเด็กๆ ที่อาจารย์มีกรอบให้ สั่งให้เราทำ ทำแล้วก็ได้คะแนน
แต่ที่นี่สอนให้เราฝึกและรับผิดชอบด้วยตัวเอง” ชีวิตในเมืองของ “เสี่ยวฟาง” จึงไม่ได้สวยสดงดงามสักเท่าไร เพราะรายได้ที่ได้จากการทำงานเดือนละ 5-6 พัน บ. เธอต้องแบ่งเป็นค่าเช่าห้องเดือนละ 2-2.5 พัน.
และยังมีค่ากิน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถ้าเดือนไหนเงิuไม่พอก็ต้องหยิบยืมจากพี่ชายบ้าง “หลังเลิกเรียนต้องทำงานทุกวัน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์รับเป็นครูสอนพิเศษ เลยไม่มีเวลาไปเที่ยวไหนกับเพื่อนๆ เลย
แต่ก็ไม่เป็นไร และไม่ได้รู้สึกว่าชีวิตตัวเองขาดสีสันเพราะชีวิตของเราเป็นแบบนี้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว” ตลอดช่วงการเรียนเสี่ยวฟางจึงใช้ชีวิตจำเจอยู่แบบนั้น
กระทั่งจบการศึกษาจึงเข้าทำงานเป็นพนักงานขายที่ “King Power” โชคดีที่เสี่ยวฟางมีพื้นฐานภาษาจีนแข็งแรง จึงค่อนข้างได้เปรียบ หลังมีงานทำคุณภาพชีวิตของครอบครัวเปลี่ยนไป
เพราะ “เสี่ยวฟาง” จะส่งเงิuให้ทางบ้านเดือนละ 1 หมื่น บ. “จากที่บ้านไม่เคยมีข้าวของเครื่องใช้อะไรเลย ก็เริ่มมีทีวี เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เพิ่มขึ้น พ่อกับแม่ก็ไม่ต้องทำงานหนักเหมือนเดิม”
“เด็กที่มีฐานะยากจน จะมีความรับผิดชอบมากกว่า” “เสี่ยวฟาง” ยกภาษิตจีนให้ฟัง เพราะเธอรู้สึกว่ามันตรงกับชีวิตของตัวเอง แผนชีวิตนับจากนี้เธอตั้งใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และจะทำงานเก็บเงิuสักพักก่อนกลับไปอยู่บ้านที่อำเภอเชียงดาว